“มวยคาดเชือก” กีฬาสำหรับลูกผู้ชายตัวจริง

Posted by

มวย ถือเป็นหนึ่งในกีฬายอดฮิตของคนไทย แม้จะเป็นการแข่งขันที่รุนแรง อาจถึงขั้นเลือดตกยางออก แต่ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันรายการไหน ก็มักได้รับความสนใจจากแฟนมวยทุกเพศทุกวัยอย่างคับคั่งเสมอ โดยการชกมวยในปัจจุบันได้กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันต้องสวมใส่นวมทุกครั้ง เพื่อป้องกันและลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขัน ต่างจากเมื่อก่อนที่ต่างฝ่ายต่างวัดฝีมือกันด้วยกำปั้นล้วนๆ หรือไม่ก็แค่พันหมัดไว้ด้วยเชือก จนเป็นที่มาของ “มวยคาดเชือก

                “มวยคาดเชือก” เป็นรูปแบบการชกมวยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยผู้ชกจะพันหมัดทั้งสองข้างด้วยเชือกจนแน่น ซึ่งอาจผูกด้วยเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของแต่ละคน ในการแข่งขันนั้น นักมวยต้องแสดงฝีมือให้นายสนามดูก่อน จนได้นักมวยที่มีฝีมือใกล้เคียงกันแล้วถึงจะกำหนดให้เป็นคู่ชกกัน โดยมีกติกาว่าให้ต่อสู้จนมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมแพ้หรือไม่สามารถลุกขึ้นได้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่า คู่ชกเสมอกัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ชมสามารถวางเดิมพันได้ ไม่ต่างกับมวยในปัจจุบันที่เลือกวางเดิมพันได้ผ่านเว็บ VWIN เช่นกัน

                ประเทศไทยเริ่มจัดการแข่งขันมวยไทยอาชีพครั้งแรกที่สนามมวยสวนกุหลาบ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ก่อนจะมีจัดการแข่งขันขึ้นอีกหลายสนามในเวลาต่อมา โดยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้นมักเลี้ยงดูนักมวยฝีมือดีไว้ในสังกัดของตน จนทำให้มีนักมวยเลื่องชื่อเกิดขึ้นมากมาย นักชกบางคนมีโอกาสแสดงฝีมือหน้าพระที่นั่งจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เช่น หมื่นชงัดเชิงมวย หลวงไชยโชกชกชนะ

                จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2471 ในการชกระหว่าง นายแพ เลี้ยงประเสริฐ กับ นายเจียร์ นักชกชาวเขมร ช่วงยกที่ 3 นักชกชาวไทย ใช้แม่ไม้มวย “หนุมานถวายแหวน” ส่งคู่ชกเพื่อนบ้านลงไปนอนกับพื้นและหมดลมหายใจในที่สุด การเสียชีวิตของนักมวยครั้งนั้นแม้จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย แต่ทางการก็เล็งเห็นว่าการชกมวยแบบคาดเชือกมีความรุนแรงเกินไป กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศห้ามชกมวยคาดเชือกทั่วราชอาณาจักรนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

                แม้จะดูโหดร้ายและรุนแรงเกินไป แต่มวยคาดเชือกก็ถือว่ามีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเมื่อครั้งอดีต มวยคาดเชือกถือเป็นศิลปะป้องกันตัวที่ชายไทยมักจะศึกษาติดตัวไว้ ทั้งในยามบ้านเมืองสงบและยามศึกสงคราม ซึ่งบุคคลที่ได้รับการยกย่องอย่างมากในประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ นายทองดี ฟันขาว หรือที่เรารู้จักกันในนาม “พระยาพิชัยดาบหัก” ทหารเอกคู่บารมี “พระเจ้าตากสินมหาราช” ผู้ใช้ความสามารถทั้งเพลงดาบและเชิงมวย สู้รบกับทหารพม่าจนสามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ หรืออีกคนที่มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน “นายขนมต้ม” นักมวยชาวกรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าจับเป็นเชลยเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยนายขนมต้มสามารถชกชนะนักมวยชาวพม่า จนได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับเหล่าเชลยชาวไทยให้เป็นอิสระและกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอน

                ในปัจจุบัน ยังมีการจัดชกมวยคาดเชือกอย่างจริงจังในประเทศพม่า แต่สำหรับประเทศไทย มวยคาดเชือกกลายเป็นเพียงการแสดงเพื่อความบันเทิงให้กับผู้ชมตามงานต่างๆ เท่านั้น ซึ่งนับวันผู้ที่ศึกษาศิลปะการต่อสู้แขนงนี้จะมีลดน้อยลง ทั้งที่นี่ถือเป็นหนึ่งในมรดกไทยที่ควรส่งต่อให้ชนรุ่งหลังได้ตระหนักว่า ชนชาติไทยมีพิษสงรอบตัว